‘ศิลปะสมัยอยุธยา’ จัดเป็นศิลปะอันอัดแน่นไปด้วยอิทธิพล ซึ่งได้รับมาจาก ศิลปะประเภทต่างๆ นำมาผสมผสานกันจนตกผลึก กลายมาเป็นศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของตนเอง เมื่ออ้างอิงจากหลักฐาน ที่ปรากฏเหลืออยู่ ทำให้ประชาชนคนรุ่นหลังได้ทราบว่า ‘ศิลปะสมัยอยุธยา’ ประกอบด้วย ศิลปะประเภทประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ได้แก่ พระพุทธรูปและสถูปเจดีย์ หากแต่เนื่องจากงานศิลปะในรูปแบบนี้ ถือกำเนิดเกิดขึ้นในช่วงของการย้ายเมือง ทำให้มีผลงานไม่ค่อยมากมายเท่าไหร่นัก นอกเหนือไปจากพระพุทธรูปเท่านั้นที่สามารถพบได้มาก
‘ศิลปะสมัยอยุธยา’ อีกหนึ่งรูปแบบอันทรงคุณค่าของศิลปะไทย
ศิลปะอยุธยา แน่นอนว่าต้องเป็นศิลปะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ในช่วงเวลายาวนานถึง 417 ปี ซึ่งเป็นยุคที่มีศิลปะรูปแบบแขนงต่างๆ เกิดขึ้นมาก ส่งผลให้งานศิลปกรรมเหล่านี้มีรูปแบบคล้ายกัน รวมทั้งมีการพัฒนาเป็นลำดับ ไปตามสภาพบ้านเมืองอย่างควบคู่กันไป
ศิลปะสมัยอยุธยา แบ่งออกเป็นระยะกว้างๆ เป็น 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะ 1 หรือ ศิลปะอยุธยาตอนต้น เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1893 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2031 จะมีลักษณะเริ่มต้นสร้างสรรค์ศิลปะตามประเพณีนิยมที่ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรมจากเมืองโบราณซึ่งอยู่ใกล้เคียง
- ระยะ 2 หรือ ศิลปะอยุธยาตอนกลาง เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2032 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2172 โดยจัดเป็นยุคที่ศิลปะอยุธยา ได้มีการแสดงออกอันเป็นลักษณะรูปแบบซึ่งเป็นในรูปแบบของตัวเอง
- ระยะ 3 หรือ ศิลปะอยุธยาตอนปลาย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2173 สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2310 โดยเป็นศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะบางอย่าง ที่สามารถเห็นได้อย่างเด่นชัด ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นต้นแบบศิลปะให้แก่ศิลปะรัตนโกสินทร์
นอกจากนี้ศิลปะอยุธยาทั้ง 3 ระยะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นศิลปะ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของพระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ เฉกเช่นเดียวกับศิลปะสุโขทัย
‘ศิลปะอยุธยาด้านประติมากรรม’ ส่วนใหญ่จะสร้างขึ้น เพื่อต้องการแสดงความเชื่อในเรื่องของพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธรูปสมัยนี้ นิยมหล่อด้วยสำริด หรือก็สามารถทำได้ด้วยวัสดุอื่นๆ บ้าง เช่น หิน, ไม้, ปูนปั้น, ดินเผา รวมทั้งทองคำ ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธไตรรัตนนายก วัดพนัญเชิง ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1867 ก่อนจะเข้ามาสู่ยุคกรุงศรีอยุธยา เป็นเวลาถึง 26 ปี และพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
นอกจากนี้ ‘ศิลปะอยุธยาด้านประติมากรรม’ ก็ยังมีการสร้างพระพิมพ์โบราณ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กๆ หลายองค์ ในสมัยโบราณเรียกว่าพระแผง งานศิลปะชิ้นนี้ก็มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ทางด้านสมัยอยุธยาตอนปลาย มักนิยมสร้างพระพิมพ์ ให้เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสวยงาม ทางด้านของสถาปัตยกรรมอยุธยา ก็มีทั้งสถาปัตยกรรมที่แน่นอนว่าต้องบอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา, สถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป